รู้จักกับสาเหตุของการมีวันเต่าโลก หรือ World Turtle Day
วันเต่าโลก หรือ World Turtle Day ถูกกำหนดให้เป็นวันที่ 23 พฤษภาคมของทุกปี โดยองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล (American Tortoise Rescue) เนื่องจากมองเห็นปัญหาเต่าทะเลที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงอยากใช้โอกาสของวันเต่าโลกเพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับเต่า ลักษณะเต่าทะเล รวมทั้งปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์เต่า โดยสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่าทะเลมีจำนวนลดลงคือขยะพลาสติกที่อยู่ทั้งตามชายฝั่งและในท้องทะเล RHINOSHIELD มองเห็นถึงปัญหานี้จึงสนับสนุนการลดพลาสติก ด้วยเคสที่สามารถ รีไซเคิลได้ 100 %
ทำไมถึงต้องกำหนดให้วันเต่าโลก เป็น 23 พ.ค. ของทุกปี
เต่าขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก ทุกคนจึงคิดว่าเต่าทะเลน่าจะไม่มีวันที่จะสูญพันธุ์ไปจากโลกใบนี้อย่างแน่นอน แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าเต่าทะเลมีแนวโน้มของประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่น่ากังวลใจ เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยว่าแล้วทำไมวันเต่าโลกต้องเป็นวันที่ 23 พ.ค. ของทุกปี
RHINOSHIELD จะมาไขข้อสงสัยให้กับทุกคน
จุดเริ่มต้นของวันเต่าโลกเกิดขึ้นจากองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล (American Tortoise Rescue) ที่ก่อตั้งโดย Susan Tellem และ Marshall Thompson ชาวสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2543 ที่มองเห็นถึงปัญหาการลดลงของจำนวนเต่าทั่วโลกที่มากขึ้นทุกปี ทางองค์กรจึงอยากให้คนให้ความสำคัญและให้ความสนใจกับปัญหานี้มากขึ้น จึงกำหนดให้วันที่ 23 พ.ค.ของทุกปี เป็นวันเต่าโลก (World Turtle Day) เพื่อต้องการใช้วันนี้ให้ทุกคนได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเต่าให้กับคนทั่วโลก และได้เริ่มใช้วันเต่าโลกเมื่อ 23 พ.ค.2545 เป็นปีแรก
มาทำความรู้จักกับเรื่องของเต่าที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้กัน!
‘เต่า’ สัตว์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการเคลื่อนไหวอันแสนเชื่องช้าและมีอายุยืนยาวที่สุดในโลก ทุกคนได้ยินและรู้จักผ่านนิทานอีสปที่ได้ยินมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ใครจะรู้บ้างว่าเต่ามีแนวโน้มที่กำลังจะสูญพันธุ์ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากขยะพลาสติกที่อยู่ตามชายฝั่งและล่องลอยไปในท้องทะเล RHINOSHIELD จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเต่าและสิ่งแวดล้อมจึง สนับสนุนการลดพลาสติก ด้วยเคสรุ่น Circular Next
ที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% เนื่องในวันเต่าโลก RHINOSHIELD มาร่วมแชร์เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเต่าให้ทุกคนได้รู้จักไปพร้อม ๆ กัน
◾เต่าไม่ได้ว่ายน้ำเป็นทุกตัว: ไม่ใช่เต่าทุกชนิดที่ว่ายน้ำได้ อย่างเต่าบกถ้าปล่อยลงน้ำจะจมเนื่องจากกระดองหนักและว่ายน้ำไม่เป็น เต่าน้ำจืดว่ายน้ำได้แต่ต้องขึ้นบกเพื่อพักผ่อนจากการว่ายน้ำ ส่วนเต่าทะเลจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเล และขึ้นมาบนบกตอนว่ายน้ำเท่านั้น
◾ อุณหภูมิส่งผลต่อเพศของเต่า: ลูกเต่าที่ฟักออกจากไข่จะถูกกำหนดเพศด้วยอุณหภูมิของรังที่อยู่ ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 28-29 องศาเซลเซียส (Pivotal Temperature) เต่าจะออกมาเป็นเพศเมีย ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านั้นจะเป็นเพศผู้ จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น ทำให้เต่าที่เกิดออกมาเป็นเพศเมียมากกว่าเพศผู้ จึงยิ่งทำให้อัตราการเกิดของเต่าน้อยลงไปด้วย
◾ เต่าทะเลทั่วโลกมีเพียง 7 ชนิด และในไทยพบเพียง 5 ชนิด: ได้แก่ เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า เต่าหัวค้อน เต่ามะเฟือง
◾ เต่าทุกตัววางไข่บนบก: ไม่ว่าจะเป็นเต่าชนิดไหน อยู่ห่างไกลจากพื้นดินเท่าไหร่ ทุกตัวจะกลับมาวางไข่ในที่ที่มันเกิด เนื่องจากเต่ามีเข็มทิศที่จะช่วยนำทางกลับบ้านได้อย่างถูกต้อง
◾ เต่าไม่สามารถถอดกระดองได้: เนื่องจากกระดองของเต่าเป็นกระดูกที่ต่อเข้ากระดูกสันหลัง กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง และกระดูกหัวไหล่ จึงทำให้กระดูกเกือบทุกส่วนถูกยึดเข้าด้วยกัน เต่าจึงไม่สามารถออกจากกระดองได้
◾ เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลที่ใหญ่ที่สุด: ตัวโตเต็มวัยมีน้ำหนักมากถึง 900 กิโลกรัม และยาวได้มากถึง 2.5 เมตร
สาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลใกล้สูญพันธุ์ ส่วนหนึ่งของการมีวันเต่าโลก
อย่างที่บอกไปตั้งแต่ในตอนต้นว่าสถานการณ์ของเต่าทั่วโลกไม่ค่อยเป็นที่น่าพึงพอใจเท่าใดนักโดยเฉพาะเต่าทะเลที่มีแนวโน้มของประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง มาดูกันดีกว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เต่าทะเลมีจำนวนน้อยลงจนเสี่ยงสูญพันธุ์ จนส่งผลให้เกิดวันเต่าโลกขึ้น
ขยะพลาสติกในท้องทะเล
เนื่องจากเต่าเมื่อฝักออกจากไข่เต่าทะเลแล้ว จะยังว่ายน้ำไม่คล่องแต่จะเป็นการปล่อยให้ตัวเองลอยไปตามกระแสน้ำ จึงทำให้ลูกเต่าลอยไปติดแพขยะที่เกิดจากเศษอวน เศษวัชพืช ขยะพลาสติก ที่ถูกพัดมาตามลมมรสุม และทำให้ลูกเต่าตายในที่สุด
นอกจากนั้นยังพบอีกว่าเต่าทะเลทั้งลูกเต่าและตัวโตเต็มวัยมีการกินขยะพลาสติกเข้าไป จนทำให้พลาสติกเหล่านั้นอุดตันในระบบทางเดินอาหาร ไม่สามารถขับถ่ายได้ นำไปสู่การติดเชื้อ และทำให้เต่าไม่สามารถกินอาหารได้ และตายในที่สุด
การล่าเต่าทะเลแบบผิดกฎหมาย
เต่าถูกล่าอย่าผิดกฎหมายอยู่เกือบตลอดเวลา จากทั้งกระดองที่สวยงาม เนื้อ หนัง และไข่เต่า ล้วนถูกนำมาเป็นของสะสมของมนุษย์ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เต่าทะเลสูญพันธุ์อย่างรวดเร็ว
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
นอกจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นทำให้การฟักตัวของเต่าทะเลออกมาเป็นเพศเมียมากกว่าเพศผู้ ซึ่งเป็นการตัดวงจรการสืบพันธุ์แล้ว อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังส่งผลให้เกิดพายุและทำลายแ
ร่วมอนุรักษ์เต่าทะเลไม่ให้สูญพันธุ์ไปด้วยกัน ทุกคนสามารถทำได้
เรามาร่วมกันอนุรักษ์เต่าทะเล เนื่องในวันเต่าโลกที่กำลังจะเดินทางมาถึงกันดีกว่า ซึ่งทุกคนก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเต่าทะเลได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีเหล่านี้
◾ ไม่ทิ้งขยะลงทะเลหรือบนชายหาด
◾ ร่วมกันช่วยเก็บขยะที่อยู่บริเวณทะเลหรือบางคนอาจจะเป็นอาสาดำน้ำเก็บขยะในทะเลก็ได้เช่นกัน
◾ อย่าสนับสนุนผลิตภัณฑ์ สินค้า หรืออาหารที่ทำจากเต่า
◾ ศึกษาความรู้เกี่ยวกับเต่าทะเลและนำไปเผยแพร่ให้กับเพื่อน ๆ หรือคนรู้จัก
◾ ป้องกันการทำการประมงที่ผิดกฎหมายหรือใช้เครื่องมือที่เป็นภัยคุกคามต่อเต่าทะเล
RHINOSHIELD สนับสนุนการลดพลาสติกด้วยการพัฒนาสินค้ารักษ์โลก
RHINOSHIELD มองเห็นความสำคัญของขยะพลาสติกที่ทำลายทั้งสิ่งแวดล้อมและเต่าทะเล เนื่องจาก
ในแต่ละปีเรากำลังผลิตพลาสติกใหม่จำนวน 430 ล้านเมตริกตัน และจำนวนขยะพลาสติกจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าภายในปี 2060 ซึ่งมีพลาสติกเพียง 9% เท่านั้นที่ถูกนำกลับมารีไซเคิลอย่างสมบูรณ์ ซึ่งบางส่วนถูกย่อยกลายเป็นไมโครพลาสติกสามารถแทรกซึมเข้าไปในร่างกายมนุษย์และสัตว์ได้ RHINOSHIELD จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการลดใช้พลาสติก จนออกมาเป็นเคสกันกระแทกรักษ์โลกรุ่น Circular Next ในที่สุด
เคสรุ่น CircularNext จาก RHINOSHIELD รีไซเคิลได้ 100 %
เคสรุ่น CircularNext เป็นเคสโทรศัพท์มือถือกันกระแทกที่ทำมาจากเคสเก่าและสามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ 100% เพราะผลิตจาก Mono Material คือ การใช้วัสดุชนิดเดียวในการผลิตเคสโทรศัพท์ ทำให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิลต่อ ลดการเกิดไมโครพลาสติกและขยะพลาสติก ซึ่งนับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยสิ่งแวดล้อมและเต่าทะเล มาร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม ลดขยะพลาสติกในโอกาสวันเต่าโลกไปกับ CircularNext ด้วยกัน
นำเคสเก่ามารีไซเคิล ทำให้ของเสียเป็นศูนย์
CircularNext ทำจากเคสโทรศัพท์ที่ใช้แล้วและวัสดุส่วนเกินจากโรงงาน นำมาเข้าสู่กระบวนการผลิตแบบหมุนเวียนของ RHINOSHIELD ซึ่งทำให้ของเสียจากการผลิตเป็นศูนย์ และกระบวนการผลิตนี้เป็นการช่วยเพิ่มอายุของวัสดุได้มากถึง 6 เท่า นอกจากนี้ยังสามารถเช็กประวัติรอบการรีไซเคิลของผลิตภัณฑ์ได้ เพียงสแกน QR Code ที่อยู่ด้านในเคสโทรศัพท์
ความคงทนระดับทหาร
แม้จะเป็นเคสรีไซเคิลแต่ CircularNext ก็ยังคงคุณสมบัติด้านการกันกระแทกไว้เป็นอย่างดี ด้วยการกันกระแทกที่ผ่านมาตรฐานระดับทหาร สามารถดูดซับแรงกระแทกจากความสูง 3.5 เมตร มั่นใจได้เลยว่าโทรศัพท์ของคุณปลอดภัยแน่นอน
ปลอดภัยจากสารอันตราย
CircularNext เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอย่างแน่นอนไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือสัตว์เลี้ยง เนื่องจากผ่านมาตรฐานบรรจุภัณฑ์เกรดอาหารของ US FDA และไม่มีสารเคมีที่ใช้กันทั่วไปในพลาสติกอย่าง BPA/S/F
สีสันเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร
ปัจจุบันนี้ CircularNext มีให้เลือกทั้งหมด 2 สี คือ Sky Peach และ Sky Violet ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ให้คุณเลือกได้ตามความต้องการ เรียกได้ว่าเป็นเคสที่ได้ทั้งความสวยงามและรักษ์โลกไปพร้อมกัน
เนื่องด้วยวันเต่าโลกที่กำลังจะเดินมาถึงนี้ RHINOSHIELD พร้อมสนับสนุนการลดใช้พลาสติก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการสูญพันธุ์ของเต่าทะเล และลูกเต่าทะเลที่เพิ่งฟักออกจากไข่เต่าทะเล เนื่องจากลักษณะเต่าทะเลในวัยเด็กจะลอยไปตามกระแสน้ำและทำให้ลอยไปติดกับแพขยะจนตายได้ในที่สุด
ดังนั้น RHINOSHIELD จึงอยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของขยะพลาสติกเหล่านี้ โดยอาจจะเริ่มจากการใช้เคส CircularNext เคสรีไซเคิล 100% ที่ช่วยลดการเกิดขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อโลกและเต่าทะเลได้ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย และยังมีเคสรุ่นอื่น ๆ อย่าง SolidSuit Clear, Mod NX, JellyTint ที่ผลิตจากวัสดุชิ้นเดียวง่ายต่อการรีไซเคิลก็สามารถช่วยลดปริมาณพลาสติกได้เช่นเดียวกัน และยังสามารถตกแต่งเพิ่มข้อความ สติกเกอร์ และรูปภาพลงไปบนเคสตามใจเราได้อีกด้วย
นอกจากนี้ RHINOSHIELD ยังได้เพิ่มดีไซน์ใหม่จากศิลปินท้องถิ่นที่ต้องการเป็นอีกเสียงในการเรียกร้อง และรณรงค์ให้ทุกคนหันมาสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยการเพิ่มดีไซน์สติกเกอร์ใหม่ ที่เป็นหมวดเกี่ยวกับการรักษ์โลกโดยเฉพาะ
สำหรับคนที่สนใจออกแบบเคสรักษ์โลกด้วยตนเองสามารถได้ที่นี่เลย! RHINOSHIELD