รู้หรือไม่? ขยะพลาสติกเป็นตัวการหลักที่ก่อให้เกิดโลกร้อน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้เรามักจะเห็นการรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติก หรือหลอดกันมากขึ้น สิ่งนี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าขยะพลาสติกกำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ เนื่องจากขยะพลาสติกเป็นขยะย่อยสลายได้ยาก และก่อให้เกิดมลพิษต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมาย อย่างที่เห็นได้ชัดก็คือขยะในทะเลที่ส่งผลต่อสัตว์ทะเลหลายชนิด จนทำให้เกิด วันเต่าโลก ขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาของขยะพลาสติกที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การเผาทำลายขยะพลาสติกก็ยังก่อให้เกิดก๊าซพิษที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ได้มีการรณรงค์ให้ลดการเกิดขยะพลาสติกและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ขยะรีไซเคิล คือคำตอบในการแก้ปัญหานี้
เข้าใจตรงกันให้มากขึ้นว่า ขยะพลาสติกคืออะไร
ก่อนที่เราจะไปดูถึงผลกระทบต่าง ๆ ของขยะพลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและโลก RHINOSHIELD อยากให้คุณมาทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าขยะพลาสติกคืออะไร แล้วมีอะไรบ้าง
กรมควบคุมมลพิษให้คำจำกัดความ ขยะพลาสติก หมายถึง ของเสียพลาสติกที่รวบรวมจากบ้านเรือน โรงแรม ภัตตาคาร โรงพยาบาล ร้านค้า สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม โดยเป็นพลาสติกหรือชิ้นส่วนที่ใช้งานแล้ว หรือเสื่อมสภาพไม่สามารถใช้งานได้หรือไม่เป็นที่ต้องการใช้อีกต่อไป โดยไม่มีการแยกประเภทของพลาสติก หรือ ปะปนกับวัสดุอื่น หรือ สกปรกปนเปื้อน
และนอกจากนั้นยังได้มีการยกตัวอย่างของขยะพลาสติกไว้ดังนี้ ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ฝาขวดน้ำ แก้วพลาสติก กล่องโฟม เชือกฟาง หลอดดูด พลาสติกเคลือบฟอยล์ ถุงขนม ถุงก๊อบแก๊บ ที่ปะปนกันมา โดยไม่ได้มีการคัดแยก รวมทั้ง พลาสติกจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Waste) หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเศษพลาสติกที่ปนเปื้อนสารอันตราย วัตถุอันตราย
เคยสงสัยไหมว่า ขยะพลาสติกที่อยู่ในทะเลเกิดขึ้นได้อย่างไร
ขยะพลาสติกในทะเลมาจากกิจกรรมทั้งบนบกและในทะเล โดยประมาณ 80% ของขยะในทะเลมีต้นกำเนิดจากกิจกรรมบนบก เช่น ชุมชน ท่าเรือ การท่องเที่ยวชายฝั่ง และการทิ้งขยะในบริเวณชายหาด ส่วนอีก 20% มาจากกิจกรรมในทะเลโดยตรง เช่น การขนส่งทางทะเล การประมง และการท่องเที่ยวทางทะเล ขยะพลาสติกเหล่านี้อาจถูกพัดพาโดยลม กระแสน้ำ หรือคลื่นทะเลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ หรือบางครั้งอาจถูกทิ้งลงทะเลโดยเจตนา
ในช่วงปี พ.ศ. 2555 - 2562 ปริมาณขยะมูลฝอยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในปี พ.ศ. 2563 - 2564 ปริมาณขยะลดลงเล็กน้อย เหลือประมาณ 24 - 25 ล้านตันต่อปี ซึ่งลดลงจากปกติที่มีประมาณ 27 - 28 ล้านตันต่อปี ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ขยะลดลงอาจเป็นผลจากการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง อย่างไรก็ตาม ปริมาณขยะพลาสติกในกรุงเทพฯ กลับเพิ่มขึ้นกว่า 50% และในเมืองอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ทั้งนี้ รายงานจากงานวิจัยของ Lourens J.J. Meijer ที่เผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ระบุว่าประเทศไทยติดอันดับ 10 ของโลกในด้านปริมาณขยะที่ลงสู่ทะเล โดยมีปริมาณประมาณ 2.3 หมื่นล้านตันต่อปี
เรียกได้ว่าประเทศเราเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับโลกเช่นกัน เพราะฉะนั้นเราควรตระหนักถึงปัญหาของขยะพลาสติกที่มีจำนวนมากขึ้นในทุก ๆ วัน เพื่อคอยช่วยรักษาและทำให้โลกของเรายังน่าอยู่เช่นเดิม
10 อันดับขยะที่มนุษย์ทิ้งลงในทะเล จนเกิดขยะล้นทะเล
RHINOSHIELD ชวนทุกคนมาดูกันว่า 10 อันดับของขยะในทะเลไทยเป็นขยะประเภทไหนบ้าง บอกเลยว่าขยะส่วนใหญ่นั้นเป็นขยะที่ย่อยสลายไม่ได้หรือขยะย่อยสลายยาก รวมไปถึงขยะพลาสติกก็เป็นปัญหาสำคัญของท้องทะเลไทยเช่นกัน ซึ่งเราจะเห็นได้เลยว่าขยะพลาสติกและโฟมมีมากถึงร้อยละ 50 ของจำนวนขยะทั้งหมด
ขวดเครื่องดื่มพลาสติก 22.00%
ถุงพลาสติก 19.42%
ขวดแก้ว 10.96%
ห่อ/ถุงขนม 7.97%
เศษโฟม 7.55%
กระป๋องเครื่องดื่ม 7.46%
กล่องอาหารประเภทโฟม 6.92%
หลอด 6.45%
ฝาพลาสติก 5.67%
เชือก 5.61%
ขยะพลาสติกส่งผลกระทบหรือผลเสียอะไรต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง
ปัญหาขยะพลาสติกได้กลายเป็นหนึ่งในปัญหามลพิษที่สำคัญของโลก เนื่องจากการใช้งานพลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นตามไปด้วย พลาสติกบางประเภทมีความทนทานต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ทำให้กระบวนการสลายตัวตามธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างช้า นอกจากนี้ การกำจัดขยะพลาสติกด้วยการเผาทำลายยังส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซพิษอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนอีกด้วย
การปนเปื้อนในแหล่งน้ำและดิน
ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงสู่แหล่งน้ำหรือฝังกลบในดินสามารถปนเปื้อนแหล่งน้ำและดินได้ เมื่อพลาสติกสลายตัวจะปล่อยสารเคมีอันตรายบางอย่างออกมา ซึ่งสามารถซึมเข้าสู่แหล่งน้ำและดิน ทำให้เกิดการปนเปื้อนที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ที่อาศัยอยู่บริเวณที่มีการทิ้งขยะพลาสติก
ก่อให้เกิดมลพิษและอันตรายต่อสัตว์ทะเล
เมื่อขยะพลาสติกลงสู่ทะเลจะสลายตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไมโครพลาสติก ซึ่งสามารถกระจายตัวไปทั่วโลกผ่านทางกระแสน้ำ สิ่งนี้มีผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตในทะเล เนื่องจากไมโครพลาสติกสามารถเข้าสู่ร่างกายของสัตว์น้ำขนาดเล็กและสะสมในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งอาจย้อนกลับมาสู่มนุษย์เมื่อบริโภคอาหารทะเล นอกจากนี้สัตว์ทะเลอาจจะเข้าใจผิดว่าขยะพลาสติกเป็นอาหาร ทำให้พวกมันกินขยะพลาสติกเหล่านั้นเข้าไป จนเกิดอาการบาดเจ็บและอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กระบวนการผลิตและการเผาขยะพลาสติกยังส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ การย่อยสลายของพลาสติกในแหล่งน้ำและดินยังสร้างก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความรุนแรงสูงอีกด้วย เรียกได้ว่าขยะพลาสติกส่งผลกระทบทั้งสิ่งแวดล้อมในจุดเล็ก ๆ ไปจนถึงระดับโลกได้เลยทีเดียว
มาตรการกำจัดขยะพลาสติกของไทย มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย!
ในปัจจุบัน ภาครัฐได้ตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายและแผนการจัดการขยะพลาสติก (พ.ศ. 2561 – 2573) โดยมุ่งเน้นการลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 7 ชนิด พร้อมตั้งเป้าหมายให้นำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100% ภายในปี พ.ศ. 2570
นอกจากความพยายามของภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนและประชาชนยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการรณรงค์ลดใช้พลาสติกผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการ “วน” (Won Project) ที่ส่งเสริมการรีไซเคิลพลาสติก และโครงการขยะกำพร้าที่นำขยะไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน โครงการเหล่านี้สะท้อนถึงความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน
โครงการ “วน” (Won Project)
โครงการนี้เป็นโครงการรีไซเคิลขยะพลาสติกในประเทศไทยที่ริเริ่มโดยบริษัท TPBI Public Company Limited มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการหมุนเวียนใช้พลาสติกในประเทศอย่างยั่งยืน โครงการนี้มุ่งเน้นการเก็บรวบรวมและรีไซเคิลถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ถุงขยะรีไซเคิล
นอกจากนี้ โครงการ “วน” ยังส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะพลาสติกด้วยการทิ้งถุงพลาสติกในจุดรับของโครงการที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลต่อไป
โครงการขยะกำพร้า
โครงการขยะกำพร้าเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการจัดการขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ตามปกติ โดยขยะเหล่านี้มักจะถูกทิ้งในแหล่งที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อรวบรวมและจัดการขยะดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำขยะไปยังโรงงานแปรรูปขยะที่จังหวัดชลบุรี ขยะจะถูกคัดแยก บดย่อย และบีบอัด จากนั้นจะถูกส่งไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในโรงงานผลิตไฟฟ้าและโรงงานปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่ต้องถูกฝังกลบในธรรมชาติ
ทุกคนควรรู้จักขยะรีไซเคิลคืออะไร? ตัวช่วยในการลดขยะพลาสติก
ขยะรีไซเคิล คือ วัสดุหรือสิ่งของที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลังจากผ่านกระบวนการแปรรูป ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ขยะรีไซเคิลรมีหลากหลายประเภท เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ และพลาสติก ซึ่งเมื่อถูกคัดแยกออกจากขยะทั่วไปแล้ว สามารถนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นสินค้าหรือวัสดุใหม่ กระบวนการนี้ไม่เพียงช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่ต้องถูกนำไปฝังกลบหรือต้องเผาทำลาย แต่ยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใหม่ ลดพลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิต และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
RHINOSHIELD ช่วยลดขยะพลาสติก โดยการแบ่งประเภทพลาสติก
RHINOSHIELD มองเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะพลาสติกที่รุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงได้มีการแบ่งประเภทของพลาสติกออกเป็น 2 ประเภท เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการจัดการและนำพลาสติกจากเคสเก่ามารีไซเคิลเป็นเคสใหม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย
พลาสติกอดีต: ในอดีตพลาสติกถูกออกแบบให้มีความทนทาน แต่มีข้อเสียคือยากต่อการรีไซเคิลและย่อยสลายได้ยาก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกสะสมในธรรมชาติ
พลาสติกปัจจุบัน: ปัจจุบันมีการพัฒนาพลาสติกให้สามารถรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาด้านการย่อยสลายในธรรมชาติซึ่งยังคงใช้เวลานาน จึงต้องมีการทิ้งหรือทำลายอย่างถูกวิธีเพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
Rhinoshield เล็งเห็นปัญหาขยะล้นโลก จึงได้ทำสินค้าเพื่อลดขยะพลาสติก
RHINOSHIELD รู้ถึงปัญหาขยะล้นโลกที่เกิดขึ้น จึงได้พยายามคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะ RHINOSHIELD เองก็รู้ว่าเคสโทรศัพท์ก็เป็นหนึ่งในขยะพลาสติกเช่นเดียวกัน และยังเป็นขยะพลาสติกที่ย่อยสลายยากอีกด้วย
เคสโทรศัพท์ของ RHINOSHIELD จึงทำจากวัสดุชิ้นเดียว ลดความยุ่งยากในการแยกขยะ และเพื่อการรีไซเคิลที่ประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้เรายังผลิตเคสที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ 100% อย่าง CircularNext ซึ่งได้รับ CIRCULAR MARK รับรองว่าเคสนี้ทำมาจากวัสดุรีไซเคิลและสามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ทั้งหมด
ปัจจุบันนี้ CircularNextมีให้เลือกทั้งหมด 2 สีนั่นก็คือ Sky Peach และ Sky Violet ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากท้องฟ้าตอนพระอาทิตย์ขึ้น และตอนพระอาทิตย์ตกซึ่งที่มีเฉดสีเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ให้คุณได้เลือกตามความชื่นชอบ เรียกได้ว่าได้ทั้งเคสที่รักษ์โลกพร้อมทั้งสวยงามไปพร้อม ๆ กันเลย
ขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน เพราะขยะพลาสติกเป็นขยะย่อยสลายได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขยะเหล่านี้ถูกทิ้งลงทะเล จะกลายเป็นขยะในทะเลที่ทำลายระบบนิเวศทางทะเล และเมื่อมีการเผาทำลายขยะพลาสติกก็จะกลายเป็นก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
การลดปริมาณขยะพลาสติกสามารถทำได้โดยขยะรีไซเคิล คือหนึ่งในคำตอบของการช่วยลดปัญหานี้ และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเคส CircularNext จาก RHINOSHIELD ที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน การใช้ผลิตภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ไม่เพียงช่วยลดปัญหาขยะล้นโลก แต่ยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ และช่วยให้โลกของเรายั่งยืนต่อไปในอนาคต